ดาวโหลดเอกสาร  [DOC]  [PDF]

      การสร้างตาราง
      การสร้างตารางนั้น สามารถนำมาช่วยในการกำหนดตำแหน่งการแสดงผลของข้อมูลภายในเว็บเพจได้ ว่าข้อมูลไหนต้องการแสดง ณ ตำแหน่งใดในเว็บเพจ โดยสามารถนำข้อมูลต่าง ๆ มาจัดแสดงในเซลล์ต่าง ๆ ของตารางได้ ทำให้สะดวกในการออกแบบการจัดางข้อมูล และทำให้การจัดวางข้อมูลมีระเบียบเรียบร้อยอีกด้วยในการสร้างตารางนั้นจะมี คำสั่ง ต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับสร้างตารางในภาษา html ดังนี้
      <table> …..</table>
      <tr> …..</tr>
      <td>……</td>
      <caption>……..</caption >
      <th>…..</th>
     
      ตัวอย่างที่ 1 โครงlร้างตาราง
      <html>
        <head>
        <title>
        โครงสร้างตาราง
        </title>
        </head>
        <body>
          <table>
            <caption>
            ชื่อตาราง
            </caption >
            <tr>
            <td>
            ...ข้อมูล...
            </td>
            </tr>
          </table>
        </body>
      </html>
      แสดงผลตัวอย่างที่ 1
     
      หมายเหตุ การแสดงผลยังไม่เป็นเส้นขอบตารางเพราะยังไม่ได้กำหนดเส้นขอบให้กับตาราง
      ตัวอย่างที่ 2 การสร้างตารางแบบ 2 x 3 (2 แถว 3 คอลัมน์)
     
      <html>
        <head><title>
        ....การสร้างตารางแบบ 2 x 3 (2 แถว 3 คอลัมน์)....
        </title></head>
          <body>
            <table>
              <caption>
              ชื่อตาราง
              </caption >
            <tr>
              <th>...หัวตาราง..</th>
              <th>...หัวตาราง....</th>
              <th>...หัวตาราง....</th>
            </tr>
            <tr>
              <td>...ข้อมูล....</td>
              <td>...ข้อมูล....</td>
              <td>...ข้อมูล....</td>
            </tr>
        </table>
        </body>
      </html>
      แสดงผลตัวอย่างที่ 2
     
      การปรับแต่งตาราง
      การปรับแต่งตารางนั้น สามารถทำได้โดยเพิ่มคุณสมบัติของตารางหรือ การกำหนด attribute ของตาราง เพิ่มเติมเข้าไปในคำสั่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มในส่วนของ คำสั่ง <table> คำสั่ง <tr> และ คำสั่ง <td> เป็นต้น ลองมาดูตัวอย่างต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
      border สำหรับกำหนดความหนาของกรอบตาราง โดยการกำหนดขนาดด้วยหน่วยของ Pixel โดยมีรูปแบบดังนี้ <table border = "0"> กรณีไม่ต้องการให้มีกรอบ หรือ <table border = "1"> ค่าตัวเลขมากกรอบจะมีความหนา
      bordercolor สำหรับกำหนดสีของเส้นกรอบของตาราง โดยใช้รูปแบบการกำหนดชื่อสี หรือการกำหนดแบบรหัสสี โดยมีรูปแบบดังนี้ <table bordercolor = "red"> หรือ <table bordercolor = "#ff0000">
      bgcolor คือกำหนดสีพื้นหลังของตาราง โดยใช้รูปแบบการกำหนดชื่อสี หรือการกำหนดแบบรหัสสี โดยมีรูปแบบดังนี้ <table bgcolor = "green"> หรือใช้การกำหนดค่าสีเป็นเลขฐาน 16 <table bgcolor = "#00ff00">
      background คือการกำหนดใส่รูปให้กับพื้นหลังของตาราง โดยการกำหนดภาพพื้นหลังให้กับตารางมีรูปแบบ ดังนี้ <table background= “โฟลเดอร์ที่เก็บภาพ/ชื่อภาพ.นามสกุลรูปภาพ เช่น jpeg/jpg,gif,pin”> ... </table> ตัวอย่างเช่น <table background= “pic/bg.jpg”> ... </table>
      Cellspacing คือกำหนดระยะห่างระหว่างเซลล์แต่ละเซลล์ โดยจะใช้ค่าเดียวกันทุกเซลล์ทั้งตาราง โดยมีรูปแบบดังนี้ <table cellspacing = "0"> หรือ <table cellspacing = "3">
      cellpadding คือกำหนดระยะห่างระหว่างขอบของเซลล์กับเนื้อหา (อาจเป็นข้อความหรือรูปภาพ) ที่อยู่ภายในเซลล์นั้น ระยะห่างในที่นี้หมายถึงระยะห่างจากขอบของเซลล์ทั้ง 4 ด้าน โดยมีรูปแบบดังนี้ <table cellpadding = "0"> หรือ <table cellpadding = "3">
      จากตัวอย่างเป็นการเพิ่ม attribute width และ height ซึ่งแต่ละ attribute มีคุณสมบัติดังนี้
      width การกำหนดความกว้างของตาราง โดยสามารถกำหนดเป็นหน่วยของ Pixel หรือเป็นเปอร์เซ็นต์ได้ โดยมีรูปแบบดังนี้ <table width = "150"> หรือ <table width = "50%">
      height การกำหนดความสูงของตาราง โดยสามารถกำหนดเป็นหน่วยของ Pixel หรือเป็นเปอร์เซ็นต์ได้ โดยมีรูปแบบดังนี้ <table height = "150"> หรือ <table height = "10%">
      การกำหนดขนาดของความกว้างของคอลัมน์ สามารถกำหนดได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
      1. เป็น % (เปอร์เซ็นต์)
      2. เป็นหน่วย Pixel (พิกเซล)
      ตัวอย่างที่ 3 การใส่สีให้กรอบตาราง
      <html>
        <head><title>การใส่สีให้กรอบตาราง</title></head>
        <body>
          <table border="1" bordercolor="#FF0000" cellpadding="0" cellspacing="0" >
            <tr>
              <td>...ข้อมูล...</td>
              <td>...ข้อมูล...</td>
            </tr>
          </table>
        </body>
      </html>
     
      ตัวอย่างที่ 4 การใส่สีพื้นหลังให้กับตาราง
      <html>
        <head><title>การใส่สีพื้นหลังให้กับตาราง</title></head>
        <body>
          <table border="1" bgcolor="#0000ff" bordercolor="#FF0000" cellpadding="0" cellspacing="0" >
            <tr>
              <td>...ข้อมูล...</td>
              <td>...ข้อมูล...</td>
            </tr>
          </table>
        </body>
      </html>
      แสดงผลตัวอย่างที่ 4
     
      ตัวอย่างที่ 5 การใส่ภาพเป็นพื้นหลังให้กับตาราง
      <html>
        <head><title>การใส่ภาพเป็นพื้นหลังให้กับตาราง</title></head>
        <body>
          <table border="1" background="bg1.jpg" bordercolor="#FF0000" cellpadding="0" cellspacing="0" >
            <tr>
              <td>...ข้อมูล...
              <td>...ข้อมูล...
            </tr>
          </table>
        </body>
      </html>
      แสดงผลตัวอย่างที่ 5
     
      ตัวอย่างที่ 6 การปรับขนาดของตาราง
      <html>
        <head><title>การปรับขนาดของตาราง</title></head>
        <body>
          <table border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="400" height="30">
            <tr>
              <td>...ข้อมูล...</td>
              <td>...ข้อมูล...</td>
       </tr>
          </table>
        </body>
      </html>
      แสดงผลตัวอย่างที่ 6
     
      ตัวอย่างที่ 7 การปรับเปลี่ยนขนาดของคอลัมน์
      <html>
        <head><title>การปรับเปลี่ยนขนาดของคอลัมน์</title></head>
        <body>
          <table border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="400" height="30">
            <tr>
              <td width="30%">...ข้อมูล...</td>
              <td width="70%" >...ข้อมูล...</td>
            </tr>
          </table>
        </body>
      </html>
      แสดงผลตัวอย่างที่ 7
     
      การรวมเซลล์เข้าด้วยกัน
      การรวมเซลล์เข้าด้วยกันสามารถรวมเซลล์ได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
      1. การรวมแถวเข้าด้วยกันโดยใช้ Attribute rowspan = "จำนวนแถวที่รวมเซลล์"
      2. การรวมคอลัมน์เข้าด้วยกันโดยใช้ Attribute colspan = "จำนวนคอลัมน์ที่รวมเซลล์"
      ตัวอย่างที่ 8 การรวมแถวเข้าด้วยกันโดยใช้ Attribute rowspan สามารถเขียนโค้ดได้ดังนั้น
      <html>
        <head><title>การรวมแถวเข้าด้วยกัน</title></head>
        <body>
          <table border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="400" height="30">
            <tr>
              <td rowspan="2" >...ข้อมูล...</td>
              <td >...ข้อมูล...</td>
            </tr>
            <tr>
              <td >...ข้อมูล...</td>
            </tr>
          </table>
        </body>
      </html>
      แสดงผลตัวอย่างที่ 8
     
      ตัวอย่างที่ 9 การรวมคอลัมน์เข้าด้วยกันโดยใช้ Attibute colspan สามารถเขียนโค้ดได้ดังนั้น
      <html>
        <head><title>การรวมแถวเข้าด้วยกัน</title></head>
        <body>
          <table border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="400" height="30">
            <tr>
              <td colspan="2" >...ข้อมูล...</td>
            </tr>
            <tr>
              <td >...ข้อมูล...</td>
              <td >...ข้อมูล...</td>
            </tr>
          </table>
        </body>
      </html>
      แสดงผลตัวอย่างที่ 9
     
      การจัดวางตำแหน่งของตาราง และคอลัมน์
      ในการสร้างตารางนั้นสามารถกำหนดการจัดวางตำแหน่งของตารางบนหน้าจอ โดยสามารถกำหนดเป็น left (ชิดซ้าย) right (ชิดขวา) และ center (ตำแหน่งกึ่งกลาง) โดยมีรูปแบบดังนี้ <table align = "left"> หรือ <table align = "right"> หรือ <table align = "center"> รูปแบบการเขียนโค้ดมีดังนี้
      ตัวอย่างที่ 10 การจัดวางตำแหน่งของตาราง สามารถเขียนโค้ดได้ดังนั้น
      <html>
        <head><title>การจัดวางตำแหน่งของตาราง </title></head>
        <body>
          <table align="center" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0">
            <tr>
              <td>...ข้อมูล...</td>
              <td>...ข้อมูล...</td>
            </tr>
          </table>
        </body>
      </html>
      แสดงผลตัวอย่างที่ 10
     
      การใส่ข้อความในตาราง
      โดยปกติเมื่อป้อนข้อความในตารางจะเห็นข้อความปรากฏทางด้านซ้ายของตาราง สามารถกำหนดให้ข้อความอยู่ในตารางตามแนวนอน โดยใช้ส่วนขยาย align=" left /center/right" (เลือกตำแหน่งตามที่ต้องการจากคำทั้ง 3) ถ้าไม่กำหนดตำแหน่ง ค่าปกติจะเป็นซ้าย (left) <td align = "left"> หรือ <td align = "right"> หรือ <td align = "center">
      นอกจากการกำหนดตำแหน่งข้อความในแนวนอนแล้ว ยังสามารถกำหนดตำแหน่งตามแนวตั้งได้เช่นกัน โดยใช้ส่วนขยาย valign="top/midder/bottom" (เลือกตำแหน่งตามที่ต้องการจากคำทั้ง 3) ถ้าไม่กำหนดตำแหน่ง ค่าปกติจะเป็นซ้าย (middle) <td valign ="top"> หรือ <td valign ="midder"> หรือ<td valign = “bottom">
      ตัวอย่างที่ 11 การใส่ข้อความในตาราง
      <html>
        <head><title>การใส่ข้อความในตาราง </title></head>
        <body>
          <table border="1" width="95%" height="100">
            <tr>
              <td align="left" valign="top">ซ้ายบน</td>
              <td align="right" valign="middle">ขวากลาง</td>
            </tr>
            <tr>
              <td align="center" valign="bottom">กลางล่าง</td>
              <td align="right" valign="top">ขวาบน</td>
            </tr>
          </table>
        </body>
      </html>
      แสดงผลตัวอย่างที่ 11
     
      การแทรกรูปภาพในตาราง
      ตาราง สามารถที่จะควบคุมตำแหน่งของรูปภาพและข้อความให้อยู่ในที่ที่ต้องการได้ การแทรกรูปภาพจะแทรกเข้าไปในเซลล์ใดๆ ก็ได้ตามต้องการ โดยยังใช้คำสั่ง <img> แทรกระหว่าง <td> .</td>
      รูปแบบคำสั่ง
      ตัวอย่างที่ 12 การแทรกรูปภาพในตาราง
      <html>
        <head><title>การแทรกรูปภาพในตาราง</title></head>
        <body>
          <table border="1">
            <tr>
              <td><img src="pic/01.jpg"></td>
              <td> รูปด้านข้างนี้คือ ทุ่งหญ้า </td>
            </tr>
          </table>
        </body>
      </html>
      แสดงผลตัวอย่างที่ 12